ทุกเรื่องเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ RSI สำหรับการเทรดหุ้น

Stanislav Bernukhov

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดอาวุโสของ Exness

เริ่มเทรดเลย

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ

แชร์

ในบทความนี้ เราจะพูดคุยเกี่ยวกับการนำอินดิเคเตอร์ RSI ไปใช้ในการเทรดหุ้น ดัชนี RSI (Relative Strength Index) เป็นออสซิลเลเตอร์โมเมนตัมยอดนิยมที่เทรดเดอร์และนักลงทุนใช้เพื่อระบุระดับการซื้อและขายมากเกินไปในหุ้นและเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ โดยมีระดับตั้งแต่ 0 ถึง 100 เพื่อใช้วัดความเร็วและการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของราคา

โดยทั่วไปแล้ว ออสซิลเลเตอร์นี้จะใช้ได้ผลดีในตลาดที่อยู่ในช่วงการเทรดหนึ่ง ไม่ใช่การกำหนดแนวโน้มระยะยาว นี่เป็นเหตุผลที่การใช้ RSI กับหุ้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากหุ้นมักจะอยู่ในแนวโน้มที่มีระยะเวลานาน ดังนั้น การใช้ RSI เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่นสำหรับหุ้นนั้นอาจมีแนวโน้มที่จะได้รับผลขาดทุนมากกว่ากำไร

บทความนี้ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการลงทุนหรือการเทรด แต่เป็นสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจเครื่องมือ RSI ได้ดียิ่งขึ้น

อินดิเคเตอร์ RSI คืออะไร

ดัชนี RSI (Relative Strength Index) เป็นออสซิลเลเตอร์โมเมนตัมที่ใช้กันทั่วไปในการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับการเทรดหุ้น เครื่องมือนี้คิดค้นขึ้นโดย Welles Wilder ในเดือนมิถุนายน 1978 โดยได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในหนังสือของเขาชื่อ "แนวคิดใหม่ๆ ในระบบการเทรดทางเทคนิค (New Concepts in Technical Trading Systems)" ออสซิลเลเตอร์ประเภทนี้เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้วัดความเร็วและปริมาณการเปลี่ยนแปลงของราคาของเครื่องมือทางการเงินหนึ่ง โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นและลดลงในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อช่วยให้คุณสามารถกำหนดความแข็งแกร่งและความอ่อนแอของสินทรัพย์ได้

วิธีการคำนวณ RSI มีดังนี้

RSI = 100 − (100/(1=RS))

คุณสามารถหาความแข็งแกร่งสัมพัทธ์ (RS หรือ Relative Strength) ได้ด้วยการหารจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยของ Up Close (ราคาปิดปัจจุบันสูงกว่าราคาปิดก่อนหน้า) ในช่วงเวลา X วันด้วยจำนวนครั้งโดยเฉลี่ยของ Down Close ในช่วงเวลา x วันเดียวกัน Welles Wilder นิยมใช้ RSI 14 วัน ซึ่งถูกนำมาใช้ในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเลือกจำนวนวันในการคำนวณได้

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอินดิเคเตอร์ RSI

อินดิเคเตอร์ RSI จะแกว่งไปมาอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 โดยทั่วไป ค่า RSI เหนือ 70 จะแสดงว่าหุ้นอยู่ในภาวะการซื้อมากเกินไป ซึ่งหมายความว่าอาจมีการดึงกลับ ในทางตรงกันข้าม ค่า RSI ที่ต่ำกว่า 30 บนกราฟราคาแสดงว่าหุ้นอยู่ในภาวะการขายมากเกินไป ซึ่งหมายความว่าอาจมีการดีดกลับ

อินดิเคเตอร์ RSI กลับตัวเป็นขาลงจากบริเวณภาวะการขายมากเกินไป แหล่งที่มา: Tradingview.com

ณ เวลาที่ RSI ตัดเส้นระดับ 70 หรือ 20 คุณอาจพิจารณาว่าเป็นสัญญาณการเทรด อย่างไรก็ตาม อย่าอาศัยสัญญาณดังกล่าวเพียงอย่างเดียวในการเข้าเทรด

การใช้สัญญาณความไม่สอดคล้องกันอาจช่วยให้คุณเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นและสัญญาณที่ดีขึ้น ความไม่สอดคล้องกันเป็นสัญญาณยืนยัน ซึ่งหมายความว่าสัญญาณนี้แข็งแกร่งกว่าสัญญาณ RSI ปกติ (เช่น เมื่อความไม่สอดคล้องกันข้ามผ่านค่าเกณฑ์บริเวณภาวะการขายมากเกินไป) ดังนั้น ความไม่สอดคล้องกันจึงมีความน่าเชื่อถือมากกว่าและมีอัตราความแม่นยำที่ดีกว่า แต่ก็มักปรากฏน้อยกว่า

ความไม่สอดคล้องกันของดัชนี RSI (Relative Strength Index)

เมื่อคุณใช้อินดิเคเตอร์ดัชนี RSI (Relative Strength Index) สำหรับการเทรดหุ้น และคุณสังเกตเห็นความไม่สอดคล้องกันระหว่าง RSI และการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น นี่อาจเป็นโอกาสที่ดีที่การเทรดของคุณจะประสบความสำเร็จเมื่อความไม่สอดคล้องกันในขาลงหรือความไม่สอดคล้องกันในขาขึ้นเกิดขึ้น หากหุ้นที่คุณกำลังเฝ้าอยู่นั้นทำจุดสูงสุดสูงขึ้น แต่ RSI มีจุดสูงสุดที่ต่ำลง นี่อาจแสดงถึงแนวโน้มขาขึ้นที่อ่อนกำลังลง ในทางตรงกันข้าม หากหุ้นทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง แต่ RSI ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น ก็อาจแสดงถึงแนวโน้มขาลงที่อ่อนกำลังลง

ความไม่สอดคล้องกันระหว่างราคาหุ้น AAPL และอินดิเคเตอร์ RSI แหล่งที่มา: Tradingview.com

การใช้สัญญาณอินดิเคเตอร์ RSI พื้นฐานสำหรับหุ้น

เรามาดูการทดสอบระบบการเทรดที่ใช้อินดิเคเตอร์ RSI กับหุ้น AAPL (Apple) โดยใช้ข้อมูลจาก TradingView Community กัน ในกรณีนี้ กลยุทธ์คือการเปิดสถานะไว้จนกว่าจะเกิดสัญญาณในทิศทางตรงกันข้าม

เมื่อคุณใช้ RSI ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด (ซื้อเมื่อ RSI พ้นจากบริเวณภาวะการซื้อมากเกินไปและขายเมื่อออกจากบริเวณการขายมากเกินไป) จะได้ผลลัพธ์ที่คล้ายกันในทุกกรอบเวลา นั่นคือผลขาดทุนที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ

การทดสอบระบบเทรดอัตโนมัติที่ใช้อินดิเคเตอร์ RSI แหล่งที่มา: Tradingview.com

นั่นมีสาเหตุมาจากข้อเท็จจริงง่ายๆ คือหุ้นส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะอยู่ภายในขาขึ้นเป็นเวลานาน แตกต่างจากคู่สกุลเงินที่มีแนวโน้มจะอยู่ในกรอบการเทรด

ออสซิลเลเตอร์ทั้งหมดจะกะพริบเมื่อเกิดภาวะ "การซื้อมากเกินไป" ในแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะเปิดสถานะ Short ในทางตรงกันข้าม สถานะ Long จะปิดค่อนข้างเร็วเมื่อตลาดเข้าสู่ภาวะ "การขายมากเกินไป" อย่างรวดเร็วและเทรดเดอร์จำเป็นต้องปิดสถานะดังกล่าว

การใช้ความไม่สอดคล้องกันของ RSI ในหุ้น

คุณจะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเมื่อใช้ความไม่สอดคล้องกันขาขึ้นหรือความไม่สอดคล้องกันขาลง เมื่อค่าอินดิเคเตอร์ RSI ยังคงอยู่ในเขตภาวะการซื้อมากเกินไปเป็นเวลานาน คุณอาจควรหลีกเลี่ยงสัญญาณ Short หรืออาจใช้การยืนยันสัญญาณเพิ่มเติมในเวลาที่สัญญาณ Long มีความได้เปรียบ

ความเหนือกว่าของสัญญาณ Long ช่วยให้คุณยังสามารถถือสถานะในทิศทางของแนวโน้ม ในตัวอย่างด้านล่าง คุณจะเห็นจุดเข้าเทรดที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในภาวะการขายมากเกินไปหรือบริเวณการซื้อมากเกินไป ซึ่งอาจดูเหมือนจะผิดกฎเกณฑ์ดั้งเดิม แต่ราคาที่อยู่ในภาวะการซื้อมากเกินไปหรือการขายมากเกินไปมักไม่เกิดขึ้นกับหุ้นส่วนใหญ่ ส่งผลให้จำนวนสถานะที่คุณเทรดอาจอยู่ในระดับที่ต่ำมาก นั่นเป็นเหตุผลที่คุณอาจต้องยอมรับสัญญาณแม้อยู่นอกบริเวณดังกล่าว

การทดสอบระบบเทรดที่ใช้ความไม่สอดคล้องกันของ RSI แหล่งที่มา: Tradingview.com

การยืนยันสัญญาณ RSI สำหรับหุ้น

คุณสามารถใช้อินดิเคเตอร์ RSI เป็นแนวทางสำหรับการเทรดที่เป็นไปได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่มักใช้กัน และไม่ใช่กฎที่เคร่งครัดในการเข้าเทรด หากต้องการระบุจุดเข้าเทรดเมื่อเริ่มเทรด คุณสามารถใช้การยืนยันได้

ตัวอย่างเช่น รูปแบบแท่งเทียนอย่าง "รูปแบบ Engulfing" อาจบ่งบอกถึงโมเมนตัมที่เร่งตัวขึ้น

นี่คือวิธีการใช้รูปแบบ Engulfing อย่างง่ายบนกราฟแท่งเทียนภายในกรอบเวลา H1 เพื่อยืนยันเวลาที่เหมาะสมในการเข้าเทรด

แทนที่จะเริ่มเทรดทันทีที่ RSI ให้สัญญาณ คุณอาจต้องรอให้มีรูปแบบที่น่าเชื่อถือกว่าแสดงขึ้น แล้วจึงตัดสินใจดำเนินการที่เป็นไปได้

การใช้สัญญาณเทรดจาก RSI ร่วมกับรูปแบบแท่งเทียน Engulfing แหล่งที่มา: Tradingview.com

การตั้งค่า RSI ที่ดีที่สุดสำหรับรูปแบบการเทรดระยะสั้น

จากสถิติแล้ว รูปแบบการเทรดระยะสั้นมักได้ผลดีที่สุดในการตั้งค่า RSI ในช่วงระหว่าง 20 และ 50 หลีกเลี่ยงการใช้พารามิเตอร์ที่ต่ำกว่า 10 เนื่องจากอินดิเคเตอร์ RSI ของคุณอาจอ่อนไหวเกินไป ทำให้ส่งสัญญาณภาวะการซื้อหรือขายมากเกินไปอย่างไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ควรทดสอบการตั้งค่าเหล่านี้ด้วยเครื่องมือการซื้อขายที่คุณต้องการโดยเฉพาะเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ

การตั้งค่า RSI ที่ดีที่สุดสำหรับรูปแบบการเทรดระยะยาว

ในฐานะเทรดเดอร์ระยะยาว การใช้พารามิเตอร์ 50 ของ RSI อาจช่วยให้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการเทรดมากเกินไปได้ และพารามิเตอร์นี้ยังสามารถใช้กับกรอบเวลาที่นานกว่านั้น เช่น กราฟรายวันได้อีกด้วย อย่าลืมกำหนดพารามิเตอร์ที่ถูกต้องด้วยการทดสอบ เทรดเดอร์มืออาชีพแทบจะไม่เปลี่ยนพารามิเตอร์ของอินดิเคเตอร์ของตนเองเพื่อป้องกันความสอดคล้องกับข้อมูลที่ทดสอบมากเกินไป

ข้อดีและข้อเสียของการใช้อินดิเคเตอร์ RSI ในการเทรดหุ้น

ในส่วนนี้ เราจะกล่าวถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของการใช้ดัชนี RSI (Relative Strength Index) ในการเทรดหุ้น สำหรับด้านดี เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้สามารถช่วยระบุจุดเข้าเทรดที่เหมาะสม และมีอัตราการทำกำไรสูง ทั้งยังใช้งานค่อนข้างง่าย อย่างไรก็ตาม เครื่องมือนี้มีข้อเสียคือ มักให้สัญญาณหลอกบ่อยครั้ง ไม่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมนอกเหนือจากราคาและปริมาณการซื้อขาย และมีประสิทธิภาพของเครื่องมือแตกต่างกันไปตามกรอบเวลาต่างๆ

ข้อดีของอินดิเคเตอร์ RSI ในการเทรดหุ้น

  1. หุ้นมักมีแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลานาน อินดิเคเตอร์ RSI สามารถช่วยหาจุดเข้าเทรดที่ดีในการเข้าร่วมแนวโน้มดังกล่าวได้
  2. อินดิเคเตอร์ RSI ใช้งานได้ค่อนข้างง่าย คุณไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญการเทรดในระดับสูงเพื่อใช้กลยุทธ์การเทรดด้วย RSI เบื้องต้น
  3. เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องตอบสนองต่อสัญญาณ RSI อย่างรวดเร็ว และโดยปกติแล้ว คุณจะมีเวลาเพียงพอในการเตรียมตัวและดำเนินการเทรด
  4. RSI ให้ความสำคัญกับการเทรดตามเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าสัญญาณแนวโน้ม นั่นคือหากนำไปใช้อย่างถูกต้อง RSI จะช่วยให้คุณมีอัตราการทำกำไรสูง
  5. กลยุทธ์ RSI จำนวนมากได้รับการทดสอบแล้วและมีผลลัพธ์ที่บุคคลทั่วไปสามารถดูได้ ซึ่งรวมถึงการใช้งานกับหุ้นด้วย ดังนั้น คุณจึงไม่จำเป็นต้อง "บุกเบิกเส้นทางใหม่" หรือผิดพลาดจากกระบวนการลองผิดลองถูกเมื่อใช้อินดิเคเตอร์ RSI

ข้อเสียของอินดิเคเตอร์ RSI ในการเทรดหุ้น

  1. RSI ใช้ไม่ได้ผลดีเมื่อแนวโน้มกินระยะเวลานาน และตลาดหุ้นมักมีแนวโน้มขาขึ้นเป็นเวลานาน เช่น RSI อาจให้สัญญาณหลอกที่ตรงข้ามกับแนวโน้มจำนวนมาก หากใช้กับหุ้นที่มีการเติบโตต่อเนื่อง
  2. RSI ไม่ใช่แค่อินดิเคเตอร์ แต่เป็นข้อมูลสืบเนื่องที่มาจากราคาด้วย หากคุณเป็นเทรดเดอร์มือใหม่ ข้อมูลนี้อาจช่วยคุณจัดระเบียบข้อมูลได้ แต่เป็นเพียงราคาและปริมาณการซื้อขายที่ไม่ได้ให้ข้อมูลใหม่เพิ่มเติมใดๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจของคุณ
  3. RSI ทำงานร่วมกับสัญญาณตามเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งสามารถช่วยให้การเทรดสามารถตอบสนองต่อจุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดของราคาได้ กลยุทธ์การเทรดตามเส้นค่าเฉลี่ยไม่สมบูรณ์แบบและอาจสร้างผลขาดทุน หากราคาหุ้นทะลุหรือเคลื่อนไหวในทิศทางหนึ่งต่อ โดยเฉพาะเมื่อมีช่องว่างของราคา
  4. RSI ไม่ได้อ่อนไหวต่อการเคลื่อนไหวของราคามากนัก จึงอาจให้สัญญาณที่เร็วเกินไป
  5. กลยุทธ์ RSI อาจให้ผลที่แตกต่างกันไปตามกรอบเวลาต่างๆ คุณจึงต้องค้นคว้าหาข้อมูลเชิงลึกก่อนใช้งาน

คำถามที่พบบ่อย

กลยุทธ์ที่เหมาะกับการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคนี้กับหุ้นอาจเป็นความไม่สอดคล้องกัน กลยุทธ์การเทรด RSI นี้อาจช่วยปรับปรุงความถูกต้องแม่นยำและจังหวะเวลาที่เหมาะสม ทำให้คุณเห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ค่อนข้างเร็ว

เนื่องจาก RSI เน้นการเทรดตามเส้นค่าเฉลี่ย จึงควรทราบแนวโน้มราคาที่แข็งแกร่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการเทรดสวนทางกับตลาด ดังนั้น RSI จึงใช้ได้ดีในฐานะเป็นอินดิเคเตอร์ตัวชี้วัดนำ ร่วมกับเส้นค่าเฉลี่ยหรือเส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence) ซึ่งสามารถช่วยระบุแนวโน้มให้คุณได้

ความถูกต้องแม่นยำของอินดิเคเตอร์นี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยปกติแล้ว คุณจะใช้ดัชนี RSI สำหรับการเทรดตามเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งมักมีความแม่นยำมากกว่า 60% อย่างไรก็ตาม คุณจะต้องระลึกว่าอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคเป็นแค่เครื่องมือ ผลการดำเนินงานขั้นสุดท้ายของคุณยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น การวางจุด Stop ที่เหมาะสม ความเสี่ยง การจัดการเงิน และการกำหนดเป้าหมาย

โดยทั่วไปแล้ว RSI ออกแบบมาเพื่อใช้งานในกรอบเวลาระยะสั้นหรือระยะกลาง เช่น กราฟรายชั่วโมง กราฟ 30 นาที และกราฟสี่ชั่วโมง แม้จะไม่มีข้อจำกัดในการใช้งานอินดิเคเตอร์นี้ แต่เทรดเดอร์ควรระลึกว่ายิ่งกรอบเวลาสูง ตลาดก็ยิ่งมี "แนวโน้ม" ชัดเจนขึ้น แต่อินดิเคเตอร์ RSI สามารถระบุภาวะตลาดที่มีการซื้อหรือขายมากเกินไปในระยะสั้นได้ดี ซึ่งหมายถึงการใช้งานในการเคลื่อนไหวแนวข้าง

กรอบเวลาที่สูงขึ้นอย่าง D1 การหมุนรอบจะยิ่งน้อยลงและมีโมเมนตัมมากขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่การใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัมอาจเหมาะกับกรอบเวลาที่สูงมากกว่า

ในทางตรงกันข้าม กลยุทธ์การเทรดสำหรับ RSI ที่สร้างขึ้นสำหรับกรอบเวลาที่สั้นมากๆ เช่น กราฟ 1 นาทีหรือ 5 นาที ยังคงมีข้อสงสัยเช่นกัน เนื่องจากโอกาสในการทำกำไรของสัญญาณ RSI จะน้อยเกินไป ซึ่งสุดท้ายแล้ว เทรดเดอร์อาจมีต้นทุนการเทรดสูงโดยมีกำไรจำกัด ดังนั้น RSI จึงอาจเหมาะกับกรอบเวลาระยะกลางระหว่าง M15 ถึง H4

"กลยุทธ์ RSI สองช่วงเวลา" (Two-period RSI ) ที่ออกแบบมาเพื่อการเทรดหุ้นสร้างขึ้นโดย Larry Connors โดยเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกลยุทธ์การเทรดตามเส้นค่าเฉลี่ยที่มี RSI เป็นพารามิเตอร์ตัวที่สอง บริเวณใต้ 10 ถือเป็นบริเวณที่มีภาวะการขายมากเกินไปอย่างลึก และโดยทั่วไป เทรดเดอร์จะสามารถหาโอกาสซื้อภายใต้สภาวะดังกล่าว ในทางตรงกันข้าม หากราคาใต้ขึ้นไปเหนือ 90 เทรดเดอร์อาจพบสัญญาณขาย

เช่นเดียวกับกลยุทธ์การเทรดตามเส้นค่าเฉลี่ยอื่นๆ กลยุทธ์นี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อเทรดที่จุดสูงสุดและจุดต่ำสุด แต่เข้าเทรดตามแนวโน้มหลักเมื่อมีการดึงกลับ ดังนั้น หากต้องการเทรดตามแนวโน้ม จึงควรใช้อินดิเคเตอร์โมเมนตัม เช่น เส้นค่าเฉลี่ย

สนใจเทรดหุ้นโดยใช้อินดิเคเตอร์ RSI หรือไม่

อย่าลืมว่าไม่ควรใช้อินดิเคเตอร์ใด รวมถึงดัชนี RSI (Relative Strength Index) เป็นแหล่งข้อมูลเดียวในการตัดสินใจเทรด

คุณยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพตลาด ความใกล้เคียงของราคาสินทรัพย์กับระดับแนวรับหรือแนวต้านที่สำคัญ

สำหรับหุ้น ไม่ควรถือสถานะใกล้กับช่วงประกาศรายงานผลประกอบการ ราคาหุ้นอาจผันผวนอย่างมากหากผลประกอบการออกมาไม่เป็นไปตามคาด ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเทรด CFD หุ้นที่นี่

ใช้อินดิเคเตอร์นี้เป็นแนวทางคำแนะนำ ไม่ใช่ตัวคาดการณ์ผลตอบแทนที่ "ศักดิ์สิทธิ์" ผลการดำเนินการในอดีตของอินดิเคเตอร์ไม่ได้รับประกันความสำเร็จในอนาคต

พร้อมเริ่มเทรดหุ้นและทดลองใช้ RSI แล้วหรือยัง เปิดบัญชีกับ Exness เลยวันนี้

แชร์


เริ่มเทรดเลย

ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ